ข้อมูลทั่วไปจังหวัดบึงกาฬ


ที่ตั้งและอาณาเขต
บึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว และจังหวัดนครพนม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสกลนคร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว และจังหวัดหนองคาย

สภาพภูมิประเทศ
จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขาและน้ำตกที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มสภาพอากาศ
ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬค่อนข้างดี เพราะได้อิทธิพลจากแม่น้ำโขงทำให้อากาศไม่ร้อนมากในช่วงถดูร้อน ในฤดูหนาวอากาศดีเหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อนโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญจังหวัดบึงกาฬมักจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจองห้องพักต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์
"ศูนย์กลางยางพารา การเกษตรก้าวหน้า การค้าอินโดจีน และท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง"
พันธกิจ

  1. พัฒนายกระดับการผลิตและการแปรรูปยางพารา และการเกษตรกรรมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อการส่งออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภาคลุ่มน้ำโขง
  2. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีมาตรฐานอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. พัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดน พัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง
  4. พัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตคน

ตราสัญลักษณ์ 

ตราสัญลักษณ์ จ.บึงกาฬตราประจำจังหวัด ประกอบด้วย ภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้ ในวงลวดลายไทย
      ภูทอก หมายถึง ภูเขาที่มีลักษณะเป็นภูโดดลูกเดียว และอีกนัยหนึ่งหมายถึงภูทอกอันเป็นที่รู้จักของมหาชน คือ ภูทอกในจังหวัดบึงกาฬที่มีสะพานและบันไดไม้เวียนขึ้น ๗ ชั้น สามารถชมทัศนียภาพได้โดยรอบ สร้างด้วยแรงศรัทธาของพุทธบริษัทนานถึง ๕ ปี เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกี สู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุดพ้นด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของพระเกจิอาจารย์และชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว “เชิงพุทธรักษ์” คือ การท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญหรือธรรมจาริกที่สำคัญแห่งหนึ่ง
      บึงโขงหลง หมายถึง แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นทั้งแหล่งที่ให้ประโยชน์ในการยังชีพของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ว่าคน สัตว์ใหญ่น้อย หรือพืช เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยได้ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง เมื่อปี ๒๕๒๕ และขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ อันดับที่ ๑,๐๙๘ ของโลก (Wetland of International Importance) เมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นแห่งที่สองในประเทศไทย และเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงให้เห็นถึงความชุ่มชื้นแห่งแผ่นดินบึงกาฬ และที่สำคัญคือเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัด โดยน้ำจากบึงโขงหลงได้ใช้ทำน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเข้าร่วมในพระราชพิธีสำคัญในหลายคราวอีกด้วย
      ต้นไม้ หมายถึง ความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อาศัยและยังชีพของหมู่คนและสัตว์ ทั้งมวล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดบึงกาฬ ที่มีป่าไม้และพรรณไม้มีค่ามากมาย ตลอดจนมีสัตว์หายากอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

ธงประจำจังหวัด 

ธง จ.บึงกาฬธงประจำจังหวัดบึงกาฬเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยแถบสี 3 แถบตามสัดส่วนธง คือม่วง-ขาว-ม่วง มีตราจังหวัดอยู่ตรงกลางขนาดของธง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 54 เซนติเมตร หมายถึง ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งจังหวัดบึงกาฬ ขนาดความยาว 84 เซนติเมตร หมายถึง ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา (ครบ 7 รอบ) มีแถบสี 3 แถบ หมายถึง เดือน 3 คือเดือนมีนาคม แถบสีขาวขนาดความกว้าง 23 เซนติเมตร หมายถึง วันที่ 23 ที่ตั้งจังหวัดบึงกาฬ มีตราประจำจังหวัดอยู่ตรงกลางขนาดเส้นรอบวง 77 เซนติเมตร หมายถึง จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย                                                                                                                                                                               

สีม่วงขาว คือ สีของจังหวัดบึงกาฬ สีม่วง หมายถึงสีประจำจังหวัดหนองคาย เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬแยกการปกครองออกมาจากจังหวัดหนองคาย จึงยังคงมีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงสัญลักษณ์ ความผูกพันของความเป็นญาติมิตร สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความดี ความมีคุณธรรม เนื่องจากจังหวัดบึงกาฬ เป็นแผ่นดินแห่งความบริสุทธิ์และสูงส่งด้วยคุณธรรม 3 ประการ คือ พระปฏิมากรอันศักดิ์สิทธิ์ เช่นหลวงพ่อใหญ่ วัดสำคัญ เช่น  วัดโพธาราม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น หลวงปู่ทองพูล เป็นต้น

 

 

แผนที่จังหวัด

การเดินทางมายังจังหวัด

  1. รถยนต์ 
    - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมต
  2. รถโดยสารประจำทาง 
    มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ 
    - จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936  2841 - 48, 0 2936 2852 - 66 ต่อ 442, 311
    - บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
    - บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2  ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
      และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
  3. รถไฟ
    - มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020  www.railway.co.th  สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
  4. เครื่องบิน 
    สามารถ ไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด http://www.thaiairways.co.th/  ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111 สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html สายการบินนกแอร์   www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955

     
Scroll to Top