ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ (นับเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคอีสาน โดยพื้นที่ทั้งหมดก่อนที่จังหวัดบึงกาฬจะแยกตัวไป มีประมาณ 7,332 ตารางกิโลเมตร) ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
วิสัยทัศน์
เกษตรอุตสาหกรรมวัฒนธรรมรุ่งเรือน เมืองท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขง
พันธกิจ
ตราสัญลักษณ์
ตราประจำจังหวัด คือ รูปกอไผ่และหนองน้ำ มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อบ้านไผ่เพราะมีกอไผ่อยู่ทั่วไป และมีหนองน้ำใหญ่ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองคาย
ธงประจำจังหวัด
ธงพื้นสีดำ - แดง - ดำ แบ่งตามแนวนอนเท่ากันทุกแถบ กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
แผนที่จังหวัด
ด้านการเมืองการปกครอง
จังหวัดหนองคาย ได้แบ่งการปกครองดังนี้
- การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
- ส่วนราชการประจำจังหวัด 35 หน่วยงาน
- อำเภอ 9 อำเภอ
- ตำบล 62 ตำบล
- หมู่บ้าน 722 หมู่บ้าน
- การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล 48 แห่ง
- เทศบาล 18 แห่ง
- เทศบาลเมือง 2 แห่ง
- เทศบาลตำบล 16 แห่ง
ประชากร
รวมทั้งสิ้น 509,395 คน
ชาย 255,221 คน
หญิง 254,174 คน
การเลือกตั้ง
จังหวัดหนองคาย มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 370,202 คน จำแนกเป็น ชาย 170,349 คน และ หญิง 173,914 คน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 คน - สมาชิกวุฒิสภา (เลือกตั้ง) 1 คน
ด้านศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่
- วัด (พุทธศาสนา) 846 แห่ง
- โบสถ์ (คริสต์ศาสนา) 43 แห่ง
- มัสยิด (อิสลาม) 1 แห่ง
ด้านสาธารณสุข
-สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย
1 โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 349 เตียง 1 แห่ง
2 โรงพยาบาลชุมชน
ขนาด 90 เตียง 1 แห่ง ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
ขนาด 30 เตียง 2 แห่ง ขนาด 10 เตียง 1 แห่ง
3 สถานีอนามัย 74 แห่ง
- สถานบริการสาธารณสุขภาคเอกชน ประกอบด้วย
1 โรงพยาบาลรวมแพทย์ ขนาด 50 เตียง
2 โรงพยาบาลหนองคาย-วัฒนา ขนาด 100 เตียง
3 โรงพยาบาลพิสัยเวช ขนาด 50 เตียง
ด้านการศึกษา
ประชากรมีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น มีจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 324 โรงเรียน สังกัด สพป. เขต 1 – 2 รวม 267 โรงเรียน และเอกชน 26 โรงเรียน สังกัด สพม. เขต 21 รวม 31 โรงเรียน มีจำนวนห้องเรียน 3,602 ห้อง มีครูจำนวน 4,107 คน แยกเป็น ชาย 1,674 คน หญิง 2,433 คน วุฒิการศึกษาจบปริญญาโทหรือสูงกว่า 339 คน ปริญญาตรี 3,645 คน อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 120 คน มีนักเรียน จำนวน 112,435 คน เป็นชาย 70,544 คน หญิง 41,891 คน
แรงงาน
ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีหลักประกัน มีความรู้ระดับประถมแต่แนวโน้มลดลง ในขณะที่กลุ่มความรู้ระดับมัธยมและอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ระดับอาชีวะยังมีสัดส่วนน้อย โครงสร้างแรงงานภาคเกษตรลดลง แต่ภาคบริการเพิ่มขึ้น มีกำลังแรงงาน 209,000 คน แยกเป็น ผู้มีงานทำ 205,100 คน และผู้ว่างงาน 3,900 คน ผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป 158,400 คน แยกเป็น ทำงานบ้าน 85,200 คน เรียนหนังสือ 32,600 คน และอื่นๆ 40,600 คน
หมายเหตุ : เป็นข้อมูลรวมของจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ
สำหรับข้อมูลเฉพาะของจังหวัดหนองคาย จะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2555
ด้านการเกษตร
ภาคการเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ขยายตัวเป็นผลมาจากมูลค่าการผลิตยางพาราและมูลค่าการผลิตยางพาราและมูลค่าการผลิตสาขาปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าปลาที่จับได้ลดลง การใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่เพื่อการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 57.29 หรือ 2,625,441 ไร่ พื้นที่ป่าไม้เพียงร้อยละ 6.41 หรือ 293,863ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ไม่ได้จำแนก ร้อยละ 36.30 หรือ 1,663,371 ไร่ และพื้นที่กันหรืออื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 1.68 ของพื้นที่จังหวัด
ข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2553/54 ปลูกระหว่าง 1 พฤษภาคม 2553 ถึง 31 ตุลาคม 2553 เมื่อเทียบกับปีเพาะปลูกปีก่อน
เนื้อที่เพาะปลูก 692,989 ไร่ ลดลงร้อยละ 0.81 เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น
ปุ๋ย น้ำมัน ค่าแรง ไม่คุ้มกับการลงทุน
เนื้อที่เก็บเกี่ยว 678,645 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.52
ผลผลิตรวม 285,937 ตัน ลดลงร้อยละ 4.97
ผลผลิตต่อไร่ 420 กิโลกรัม ลดลง ร้อยละ 19.39
ยางพารา ปี พ.ศ. 2554 มีปริมาณผลผลิตยางพารา เท่ากับ 7,926,730 กิโลกรัม มูลค่าการผลิตรวม 792,673 ล้านบาท มีเนื้อที่เพาะปลูกยางพารารวม 142,944.85 ไร่ มีเนื้อที่กรีดได้ทั้งหมด 28,309.75 ไร่ ราคายางพารา ปี พ.ศ.2554 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท
ด้านปศุสัตว์
โคพันธุ์ จำนวน 8,513 ตัว โคพื้นเมือง จำนวน 34,218 ตัว
กระบือ จำนวน 11,931 ตัว สุกร จำนวน 56,156 ตัว
ไก่เนื้อ จำนวน 16,375 ตัว ไก่ไข่ จำนวน 350,669 ตัว
เป็ดเนื้อ จำนวน 10,189 ตัว เป็ดไข่ จำนวน 30,828 ตัว ฃ
ด้านประมง
จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมด จำนวน 13,418.69 ไร่ (รวมเลี้ยงในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และกระชัง) บ่อเลี้ยงปลา/กระชัง จำนวน 20,202 บ่อ/กระชัง เกษตรกร จำนวน 7,025 ราย ปริมาณผลผลิต 5,770,297 กิโลกรัม มูลค่า 352.55 ล้านบาท ปริมาณการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ 141,160 กิโลกรัม มูลค่า 7.06 ล้านบาท ปริมาณการจับสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง 1,690 กิโลกรัม มูลค่า 2 ล้านบาท ปริมาณการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำอื่น ๆ รวม 139,470 กิโลกรัม มูลค่า 5.06 ล้านบาท
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
พื้นที่และประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
จังหวัดหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ ที่ดอนเป็นลอนคลื่นผสมที่เนินสูง และภูเขาสูงชัน ใช้ประโยชน์ในการทำนาและปลูกพืชไร่การเกษตร ลักษณะดินเป็นดินปนทรายตลอดชั้นดินทำให้การระบายน้ำได้ดี และการไหลบ่าของน้ำบนผิวดินมีความรวดเร็ว สภาพพื้นที่ดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมกับการปลูกพืชในฤดูแล้งและการปลูกข้าว จึงต้องมีการปรับปรุงโดยการใช้ระบบชลประทานและการขุดบ่อน้ำที่ต้องมีกรรมวิธีแบบพิเศษในการรองพื้นหน้าดินทำให้การเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น เพื่อให้การเพาะปลูกได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จากรายงานสถิติจำนวนหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดหนองคายที่พบปัญหาเกี่ยวกับดิน จะเห็นว่า หมู่บ้านที่พบปัญหาดินจืดมีจำนวนสูงที่สุด คือ 233 หมู่บ้าน รองลงมาคือ ปัญหาดินกรวดและดินทราย จำนวน 131 หมู่บ้าน และปัญหาที่พบต่ำที่สุดคือ ปัญหาดินพรุ จำนวน 2 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการกัดเซาะพังทลายของตลิ่งบริเวณ อำเภอสังคม อำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย และปัญหาการขัดแย้งเรื่องที่ดินเขตป่าพบในเขตอำเภอสังคม
ป่าไม้
จังหวัดหนองคายมีเนื้อที่ 1,891,567 ไร่ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 382,157 ไร่ (ป่าพานพร้าว – แก้งไก่ 342,422 ไร่ ป่าทุ่งหลวง 39,735 ไร่) เป็นเนื้อที่ป่า 225,132 ไร่
ด้านความมั่นคง
1. ปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง และปัญหาแรงงานต่างด้าว
จากขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกันของประชาชนทั้งสองฝั่งโขง ทำให้มีการไปมา
หาสู่กันมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ประชาชนของทั้งสองประเทศส่วนหนึ่งเป็นเครือญาติกัน ทำให้มีการลักลอบเดินทางไปมาหาสู่กัน และจากสภาวะเศรษฐกิจที่ต่างกัน ทำให้ประชาชนชาวลาวนิยมเดินทางมาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ประชาชนชาวลาวลักลอบเข้ามาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยโดยกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งอาชีพที่ชาวลาวนิยมเข้ามาทำงานมากที่สุด คือ อาชีพรับใช้ในบ้าน รองลงมาคือ งานกรรมกร ส่วนในจังหวัดหนองคาย คนต่างด้าวชาวลาวส่วนใหญ่อยู่ในภาคครัวเรือน โดยอยู่กินฉันท์สามีภรรยากับคนไทย อยู่ในภาคบริการและอุตสาหกรรมประมาณ 2,000 คน จากการขอรับใบอนุญาตทำงานและจากการสำรวจความต้องการจ้างแรงงานของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ จะมีความต้องการจ้างแรงงานในช่วงฤดูกาลผลิตเท่านั้น แรงงานกรรมกรยังคงเป็นแรงงานที่มีความต้องการจ้างเป็นจำนวนมาก มีการขาดแคลนในระดับที่ค่อนข้างรุนแรง การนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (MOU) ยังดำเนินการได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ เช่น ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยแรงงานต่างด้าวผลักภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้กับนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ก่อน และบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจจัดหางานลาวที่ตั้งขึ้นมาตามบันทึกข้อตกลงฯ ไม่สามารถหาแรงงานต่างด้าวมาป้อนให้กับนายจ้างได้ โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวสัญชาติลาว มีความต้องการจ้างแรงงานลาวประมาณ 70,000 คน แต่นำเข้ามาได้เพียงประมาณ 7,000 – 8,000 คน เท่านั้น
2. ปัญหาการลักลอบการค้าสินค้าหนีภาษีตามแนวชายแดนตลอดแนวชายแดน
ยังคงมีการลักลอบสินค้าหนีภาษีศุลกากรหลายประเภท ทั้งการส่งออกและนำเข้า เช่น
สินค้าอุปโภคบริโภค สัตว์สงวน สุราเถื่อน สินค้าที่จับกุมได้ ได้แก่ รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าแฟชั่นสตรี เสื้อผ้า สุรา บุหรี่ ผ้าไหม อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ไพ่ป๊อก หอมหัวใหญ่
3. ปัญหาเส้นเขตแดน
จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ยังไม่มีความชัดเจนของเส้นเขตแดน เช่น ดอนชิงชู้ อำเภอ
ศรีเชียงใหม่ และดอนสังคี อำเภอโพนพิสัย
4. ปัญหายาเสพติด
สถานการณ์นำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน ได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสังคม
อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี
ยาเสพติดที่ลักลอบนำเข้า ได้แก่ ยาบ้า กัญชา และมีแนวโน้มนำเข้าเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามหันมาใช้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นจุดนำเข้า เนื่องจากภูมิประเทศเอื้ออำนวย โดยลักลอบนำเข้าตามช่องทางธรรมชาติ หมู่บ้านตามแนวชายแดน จุดผ่านแดนถาวร และจุดผ่อนปรน โดยจุดผ่านแดนถาวรเป็นจุดนำเข้าที่สำคัญ
พื้นที่เป้าหมาย คือ ตลอดแนว 6 อำเภอชายแดน 23 ตำบล 123 หมู่บ้าน พื้นที่เพ่งเล็ง
พิเศษ คือ อำเภอเมืองหนองคาย และอำเภอศรีเชียงใหม่
การสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีการสนธิกำลังจากส่วนราชการ
จำนวน 13 หน่วยงาน มีชุดปฏิบัติการ จำนวน 32 ชุด เพื่อสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตลอดแนวชายแดนโดยเน้นหนักที่จุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรน การลาดตระเวนทางน้ำ การลาดตระเวนทางบก และจุดตรวจจุดสกัดรถไฟ และการสนธิกำลังป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติด ขบวนรถไฟสายจังหวัดหนองคาย – ท่านาแล้ง
จากปัญหาความมั่นคงชายแดน จังหวัดหนองคายจึงได้กำหนดกลยุทธ์ด้านความมั่นคง
ชายแดนในยุทธศาสตร์ที่ 5 ในด้านความมั่นคง จังหวัดหนองคาย ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการผนึกกำลัง จากกำลังในพื้นที่ การจัดระเบียบ
ชายแดนให้เกิดความมั่นคงสงบเรียบร้อย กำหนดจุดจอดเรือตามแนวชายแดน
2. การพัฒนาความร่วมมือชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านกลไกความร่วมมือ
ทุกระดับ มีคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยชายแดนในระดับท้องถิ่น 3 คณะ คือ
(1) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนระดับท้องถิ่น
จังหวัดหนองคาย กับนครหลวงเวียงจันทน์
(2) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนระดับท้องถิ่น
จังหวัดหนองคาย กับแขวงบอลิคำไซ
(3) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนระดับท้องถิ่น
อำเภอกับเมืองของ สปป.ลาว
ทั้งนี้ เพื่อกำหนดมาตรการร่วมกันด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยชายแดน , ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ , ความร่วมมือด้านแรงงาน, การดูดหินทรายตามลำน้ำโขง ,การป้องกันตลิ่งพัง และการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2552 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) มีมูลค่า 39,234 ล้านบาท (เป็นอันดับที่ 50 ของประเทศ เป็นอันดับที่ 13 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่มจังหวัด 6.1) รายได้ต่อหัวประชากร เท่ากับ 40,484 บาท/ปี (เป็นอันดับที่ 67 ของประเทศ เป็นอันดับที่ 10 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่มจังหวัด 6.1) โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดหนองคายขึ้นอยู่กับสาขาการผลิตสำคัญ คือ สาขาเกษตรกรรม มูลค่า 10,998 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.03 รองลงมา คือ สาขาการขายส่งขายปลีกฯ มูลค่า 7,828 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 19.95 สาขาการศึกษา มูลค่า 4,743 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.09 สาขาอุตสาหกรรม มูลค่า 3,810 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.71 สาขาบริหารราชการแผ่นดินฯ มูลค่า 2,467 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.29 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
การเดินมายังจังหวัดหนองคาย