ข้อมูลทั่วไปจังหวัดเลย


ที่ตั้งและอาณาเขต

ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 520 กม. มีเนื้อที่ประมาฯ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7,140,382 ไร่

แผนที่ จ.เลย 

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทือกเขาเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอนน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอนากลาง และอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภูผาม่าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น 

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจัดหวัดเลย นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายพรชัย ถมกระจ่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย จังหวัดเลยมีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ความยาว 197 กิโลเมตร มีแม่น้ำโขง แม่น้ำเหือง และแนวสันเขาเป็นแนวพรมแดนติดต่อกับแขวงไชยะบุลีและแขวงเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว

  • แม่น้ำโขงระยะทาง 71 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอปากชมและอำเภอเชียงคาน
  • แม่น้ำเหืองระยะทางยาว 123 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอท่า อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว
  • แนวสันเขาในอำเภอนาแห้วมีความยาว 3 กิโลเมตร 

อำเภอที่มีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับ สปป.ลาว ได้แก่

  1. อำเภอปากชม ติดต่อกับบ้านวัง เมืองหมื่น แขวงเวียงจันทน์ (ระยะทางระหว่างแขวงเวียงจันทน์กับอำเภอปากชม ประมาณ 160 กิโเมตร) ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นที่กั้นพรมแดน
  2. อำเภอท่าลี่ ติดต่อกับบ้านเมืองหมอ เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุลี (ระยะทางระหว่างแขวงไชยบุลีกับอำเภอท่าลี่ประมาณ 210 กิโลเมตร) มีแม่น้ำเหืองเป็นเส้นกั้นพรมแดน
  3. อำเภอเชียงคาน ติดต่อกับเมืองสานะคาม แขวงเวียงจันทน์ (ระยะทางระหว่างเมืองสานะคามกับอำเภอเชียงคาน ประมาณ 3-5 กิโลเมตร) ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นที่กั้นพรมแดน
  4. อำเภอด่านซ้าย ติดต่อกับบ้านนาข่า เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุลี (ระยะทางระหว่างเมืองบ่อแตนกับอำเภอด่านซ้ายประมาณ 30 กิโลเมตร)
  5. อำเภอนาแห้ว ติดต่อกับบ้านเหมืองแพร่ เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุลี (ระยะทางระหว่างเมืองบ่อแตนกับอำเภอนาแห้ว ประมาณ 40 กิโลเมตร)
  6. อำเภอภูเรือ ติดต่อกับเมืองแก่นท้าว เมืองบ่อแตน แขวงไชยะบุลี

วิสัยทัศน์

   เมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการม่องเที่ยว การค้าและการลงทุนภายใต้การพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ

  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
  2. พัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว
  3. ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4. ยกระดับคุณภาพและผลิตผลทางการเกษตร
  5. ส่งเสริมการค้าชายแดนและการลงทุน
  6. เสริมสร้างสังคมให้น่าอยู่และยกระดับการให้บริการ

 

ตราสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ จ.เลย

 

 

เป็นภาพพระธาตุศรีสองรัก ลักษณะอุเทสิกเจดีย์สร้างเป็นอนุสรณ์การปักปันเขตแดนในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2103 เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2106  ตั้งอยู่วัดพระธาตุศรีสองรักซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์พำนัก  ริมแม่น้ำหมัน บ้านหัวนายูงตำบลด่านซ้าย  องค์พระธาตุก่ออิฐก่อปูน มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 10.47 เมตร สูง 19.19 เมตร  บนยอดพระธาตุมีแก้วครอบเป็นโคม มีกระดิ่งลูกเล็ก ๆแขวนอยู่เหนือโคม กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 (ที่มา : เอกสารกองโบราณคดีหมายเลข 21/2534)

 

 

 

 

 

 

 

 

ธงประจำจังหวัด

ธง จ.เลย

   ลักษณะสีเหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า มีตราประจำจังหวัดเลย เป็นรูปพระธาตุศรีสองรักอยู่ในวงกลมบนพื้นผ้าทั้งสองด้าน

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ชื่อ พรรณไม้ สนสามใบ เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ทรงปลูกตามคำกราบบังคมทูลของนายเทียม คมกฤชอธิบดีกรมป่าไม้  เพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินขึ้นยอดภูกระดึง  เมื่อเวลาเช้าของวันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 (จากหนังสือรอยเสด็จมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2540) และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้พระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  ในงานวันรณรงค์ โครงการปลูกป่kเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในโอกาสที่ครองราชย์ปีที่ 50 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเลย

 

 

 

 

 

 

ด้านการท่องเที่ยว

จังหวัดเลย เมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อน อุดมไปด้วยพืชพรรณป่าไม้นานาชนิด ภูมิประเทศที่งดงาม อากาศอันเย็นสบายตลอดทั้งปี มีประเพณีวัฒนธรรมอันแตกต่างไปจากถิ่นอื่น ซึ่งได้แก่ การละเล่นผีตาโขน และวัฒนธรรม ให้ได้มาสัมผัสและเรียนรู้วิถีชีวิตชาวจังหวัดเลย ด้วยจังหวัดเลยมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้กําหนดให้ปี 2561 เป็น
“ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ “Amazing Thailand Tourism” เพื่อส่งเสริมเน้นการท่องเที่ยวให้เป็นอุตสาหกรรมเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยาและการต่างประเทศ มีการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพระดับชั้นนําของโลก มีการเจริญเติบโตบนพื้นฐานของความเป็นไทย
และกระจายรายได้สู่ชุมชน จังหวัดเลยเป็น 1 ใน 12 เมืองต้องห้าม...พลาด ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากศักยภาพความหนาวเย็นของอากาศและความมีเสน่ห์ของจังหวัด จึงเหมาะสําหรับผู้ที่ต้องการการเดินทางมาท่องเที่ยวในทุกรูปแบบ ทุกฤดูกาล จังหวัดเลยได้นําแผนงาน THAI LOEI 4.0 มาใช้ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โดยเน้นในการสร้างมูลค่าในด้านการท่องเที่ยว เน้นกิจกรรมการเดินทางท่องเที่ยวที่ทําให้เกิดวันพักยาวนานขึ้น ด้วยการนําเสนอแนวคิด Tourism and Sports เลยเมืองแห่งการท่องเที่ยวและกีฬา ยกระดับแหล่งท่องเที่ยว
ให้ได้มาตรฐาน สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาดและพัฒนาศักยภาพ บุคลากรด้านการท่องเที่ยว อนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวล ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาการเกษตร และศิลปวัฒนธรรมไปสู่การสร้างมูลค่าด้านการท่องเที่ยวให้สามารถสร้างและกระจายราย ได้แก่ ประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนออกกําลังกาย เล่นกีฬา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนากีฬาสูงความเป็นเลิศ รวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว ตามโครงการความร่วมมือ สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามายังจังหวัดเลย และสิ่งที่จังหวัดต้องทําควบคู่กันไปก็คือเรื่องความเป็นเมืองที่สะอาด และการดูแลนักท่องเที่ยวในทุกๆ ด้าน รวมถึงความห่วงใยที่ชาวเลยมีให้กับนักท่องเที่ยว การสร้างมาตรฐานด้านการบริการ โดยเฉพาะการดูแลในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งหลายๆ หน่วยงานในพื้นที่ได้จัดทําแผนไว้รองรับแล้ว
     จากสถานการณ์ ปี 2563 ซึ่งมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (covid 19) ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ส่งผลกระทบเชิงลบให้กับประเทศจํานวนมาก โดยเฉพาะกระทบต่อสุขภาพของ
ประชาชนโดยตรง และที่สําคัญด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบในวงกว้าง ทําให้เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวของประเทศหยุดซะงักลง ทั้งนี้ รัฐบาลจึงออกมาตรการเร่งด่วนต่างๆ มาใช้เพื่อควบคุม ป้องกัน แก้ไขช่วยเหลือ เยียวยา รวมทั้งการพัฒนา ส่งเสริม การท่องเที่ยวให้ครอบคลุม เพื่อช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้

การเดินทางมายังจังหวัดเลย

1. โดยรถยนต์                                                                                                                                  

จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัด เพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มสัก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มเก่า อำเภอภูเรือ เข้าสู่จังหวัดเลย
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่าน จังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง จนถึงจังหวัดเลย
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภูเขียว อำเภอชุมแพ อำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง จนถึงจังหวัดเลย

2. โดยรถประจำทาง                                                                                                                         

มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-เลย และกรุงเทพฯ-เชียงคาน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

3. โดยรถไฟ                                                                                                                                 

จังหวัดเลยไม่มีสถานีรถไฟ แต่สามารถนั่งรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมาลงที่สถานีรถไฟอุดรธานีและต่อ รถโดยสารประจำทางไปจังหวัดเลย สอบถามรายละเอียดได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือ www.railway.co.th หรือ สถานีรถไฟอุดรธานี โทร. 0 4222 2061

4. โดยเครื่องบิน                                                                                                                             

เครื่องบิน ปัจจุบันไม่มีเครื่องบินทำการบินในจังหวัดเลยแต่สามารถใช้เส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ของ บริษัท การบินไทย จำกัด สำนักงานอุดรธานี โทร. 0 4224 3222 สนามบินอุดรธานี โทร. 0 4224 6567 www.thaiairways.com สายการบินนกแอร์ โทร. 1318 www.nokair.co.th สายการบินแอร์เอเชีย จำกัด โทร. 0 2515 9999 www.airsasia.com จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางหรือเช่ารถจากจังหวัดอุดรธานี ไปจังหวัดเลย

Scroll to Top