บทความจังหวัดหนองคาย


ทำบุญกับพระอรหันต์ กุศลผลบุญนับอนันต์ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ


ทำบุญกับพระอรหันต์ กุศลผลบุญนับอนันต์ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ นายแพทย์สุรศักดิ์ โควสุภัทร์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองคาย

รายละเอียดเนื้อหา


ทำบุญกับพระอรหันต์ กุศลผลบุญนับอนันต์ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ นายแพทย์สุรศักดิ์ โควสุภัทร์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหนองคาย “ พระอรหันต์ องค์แท้อยู่ที่บ้าน เราไม่ต้องเสาะแสวงหาใครที่ไหนให้ลำบาก ก็ชายชรา หญิงชรา ผู้มีหน้าตาเหี่ยวย่น ที่บ้านนั้นแลคือ อรหันต์องค์แท้ของลูก ” ปัญหาในผู้สูงอายุทั่วโลก นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ปัจจุบันผู้สูงอายุเริ่มมีความหวังเพิ่มขึ้น เพราะคนทั่วโลกเริ่มมองเห็นความสำคัญของปัญหานี้ แต่นั่นก็เป็นเพียงการเริ่มต้นที่ดี ยังต้องการการร่วมแรงร่วมใจจากคนทั่วโลกในการดำเนินการ อย่างจริงจัง จริงใจ และต่อเนื่อง การแก้ปัญหานี้จะประสบผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อ คนทั่วโลกต้องคิดว่าปัญหานี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่เป็นปัญหาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทุกคนเมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องกลายเป็นผู้สูงอายุ เมื่อเป็นปัญหาของ คนทุกคน ทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้ ช่วยกันนะครับ เพื่อว่าเราจะได้มีความสุขเมื่อเราย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และจะได้ไม่มีความทุกข์ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุ จำนวนไม่น้อยในปัจจุบัน 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ผู้สูงอายุแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุตอนต้น และ ผู้สูงอายุตอนปลาย ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2554 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 8 ล้านกว่าคน จากประชากรประมาณ 64 ล้านคน อายุขัยเฉลี่ยผู้ชายไทย 69.4 ปี ผู้หญิงเฉลี่ย 81.9 ปี ผู้ชายอายุสั้นกว่าผู้หญิงเนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงกว่า ทั้งเรื่องอุบัติเหตุจราจร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา โดยในปี 2553 จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ทั่วประเทศมีผู้ที่อายุเกิน 100 ปี หรือเรียกว่า ศตวรรษิกชน จำนวน 14,493 คน นายแพทย์นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กล่าวว่า สุขภาพของผู้สูงอายุขณะนี้น่าเป็นห่วง จากการประเมินพบว่า ผู้ที่ไปใช้บริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 60-70 ผลการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ.2551-2552 โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบว่าผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ที่พบบ่อยคือโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 48 โรคเบาหวานร้อยละ 16 และอ้วนลงพุงร้อยละ 36 ส่วนกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ ตัวเลขที่น่าตกใจมากพบว่า ผู้สูงอายุไทยเป็นโรคข้อเสื่อมค่อนข้างสูงเฉลี่ยร้อยละ 19 คาดประมาณว่าขณะนี้ผู้สูงอายุไทย กำลังเผชิญโรคข้อเสื่อม ทำให้มีอาการปวดข้อ ข้อบวมอย่างเรื้อรัง ประมาณ 1 ล้าน 4 แสนกว่าคน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่าตัว พบผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ12 หรือประมาณ 880,000 คน ส่วนใหญ่พบในเขตชนบทมากกว่าในเมือง ส่วนปัญหาสายตา พบเป็นต้อกระจกร้อยละ 21 ในด้านการบดเคี้ยว พบว่าผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงร้อยละ 53 เหลือฟันในปากน้อยกว่า 20 ซี่ โดย 1 ใน 5 ใส่ฟันปลอม มากที่สุด คือผู้สูงอายุในกทม. ขณะนี้คาดว่า จะมีผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดี ช่วยเหลือเองไม่ได้เลย ต้องพึ่งคนอื่นดูแล 100 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 80,000 คน มีผู้สูงอายุที่ป่วยและพอช่วยเหลือตนเองได้ หรือเรียกว่ากลุ่มอยู่ติดบ้านประมาณร้อยละ 20 หรือประมาณ 1.6 ล้านคน ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรง ช่วยตัวเองได้ดี ซึ่งกลุ่มนี้รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังประจำตัวด้วย สิ่งสำคัญที่ผู้สูงอายุต้องการจากครอบครัวดั่งเช่นบทกลอน ของเรื่องวิวาห์พระสมุทร ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชการที่ 6 ซึ่งมีดังนี้คือ เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้ เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา หวังลูกช่วยปิดตายามสิ้นใจ พ่อ แม่ คือ บุคคลสำคัญที่สุดในโลกสำหรับลูก พ่อ แม่ คือ ผู้ให้ตลอดกาล พ่อแม่คือผู้สร้างลมหายใจให้กับลูก แก่นแท้แห่งความรักที่ยิ่งใหญ่คือ รักจากพ่อและแม่ พระปัญญานันทภิกขุ ท่านสอนไว้ว่า คนที่มีความกตัญญูกตเวทีรับรองว่า ไม่มีความตกต่ำในชีวิตการงาน ย่อมเจริญก้าวหน้า คนที่เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนรักพ่อ บูชาแม่ เอาใจใส่พ่อแม่ของพวกเรา จงมีความกตัญญูกตเวที ต่อพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการหมั่นเอาใจใส่ดูแลท่านให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ตามหน้าที่ของเรา นี่เรียกว่าเลี้ยงจิตใจของท่าน เราจะทำอะไรเป็นการตอบแทนพระคุณท่าน ก็ให้รีบทำเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ร่วมกับเรา พ่อแม่ คือผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับลูก ผู้สูงอายุ คือ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่าสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคม ปัจจุบันปัญหาสุขภาพต่าง ๆ มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคอัมพาต และโรคที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีสาเหตุที่สำคัญคือ การบริโภคอย่างไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การขาดการออกกำลังกาย และความเครียด เป็นต้น พวกเราทุกคนล้วนแล้วแต่มีความต้องการที่จะให้พ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ เป็นเช่นดั่งนี้คือ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมาเยี่ยมเยียน ถ้าเจ็บป่วยก็เจ็บป่วยไม่รุนแรง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อีกทั้งทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคม เป็นต้น สิ่งที่สำคัญสิ่งแรกที่จะทำให้เราสามารถบรรลุความต้องการดังกล่าวได้คือ การมีความรู้หรืออาวุธทางปัญญา คนในครอบครัวควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร คนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นลูกหลาน หรือญาติพี่น้องของผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุดังนี้คือ 1. ช่วยดูแลเรื่องอาหารการกินของผู้สูงอายุ ทำได้โดย ควรจัดทำอาหารที่ย่อยง่าย ( เพราะฟันของผู้สูงอายุทำงานได้ไม่ดี และระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ) ควรเน้นการกินอาหารประเภทปลาและผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานให้มากๆ หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน ถ้าไม่มีปลา ก็กินเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆก็ได้ แต่ต้อง ไม่กินส่วนที่มีมัน ไม่กินเครื่องในสัตว์ และไม่กินหนังสัตว์ หลีกเลี่ยงการกิน อาหารหวาน อาหารมัน อาหารเค็ม อาหารทอด หลีกเลี่ยงขนมหวาน ขนมมัน ขนมทอด หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีกะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานหรือหวานมัน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดหรือหลีกเลี่ยง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ทุกชนิด กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก ลดการกินข้าวเหนียว ควรกินข้าวเจ้าครั้งละหนึ่งทัพพี ควรลดการกินอาหารที่เป็นแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ขนมจีน เผือก มัน เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นไขมัน การกินแป้งมากๆจะทำให้ได้รับน้ำตาลมาก และไขมันมาก ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องระวังอาหารที่แพทย์สั่งห้าม ลูกหลานต้องช่วยกันดูแลให้ท่านปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เคล็ดลับทำให้มีความสุข อายุยืน รอดพ้นจากอัมพาต ตาบอด ไตวาย โรคหัวใจ 1. กินข้าวเจ้าครั้งละ หนึ่งทัพพี 2. กินกับข้าวที่มีผักมากๆ 1- 2 อย่าง 3. มีผลไม้ที่ไม่หวานหนึ่งจาน ( แอปเปิ้ล ฝรั่งดิบ มะม่วงดิบ ชมพู่ พุทรา ) 4. มีอาหารโปรตีน เช่น ปลา ไข่ขาว เนื้อสัตว์ที่ไม่มีมัน ไม่มีเครื่องในสัตว์และไม่มีหนังสัตว์ 2. จัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น จัดห้องนอนให้อยู่ชั้นล่างของบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได จัดทำราวให้จับ ตามฝาผนัง เพื่อจะได้เกาะพยุงตัว โดยเฉพาะในห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม ควรจัดให้ทุกห้อง มีอากาศถ่ายเทสะดวก สบาย ปลอดโปร่ง ควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้สูงอายุ เช่นแว่นตาสำหรับผู้สูงอายุที่สายตายาว ฟันปลอมทดแทนฟันเก่าที่หักหลุดไป มีไม้เท้าให้พยุงเวลาเดิน มีเก้าอี้รถเข็นสำหรับผู้สูงอายุที่เดินเองไม่ได้ เพื่อจะได้มีโอกาสไปมาที่ต่าง ๆ ได้สะดวก คนในชุมชนหรือสังคมควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างไร คนในสังคมหรือชุมชนควรปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ดังนี้คือ 1. ควรให้เกียรติ ให้การยกย่อง ผู้สูงอายุในชุมชน โดยการเชิญท่านเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ชุมชนจัดตั้งขึ้นมา เพื่อให้ได้รับคำแนะนำ ได้รับข้อคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์ เพราะท่านมีประสบการณ์มาก และมีสติปัญญาที่ลึกซึ้ง อีกทั้งท่านยังมีเวลาที่จะอุทิศให้กับงานอย่างเต็มที่ และหากท่านเป็นผู้มีฐานะดี ท่านก็อาจจะเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินที่ดีของชุมชนด้วย 2. ช่วยกันจัดให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีโอกาสพบปะสังสรรค์กันและทำกิจกรรมร่วมกัน จะทำให้ท่านไม่รู้สึกเหงาหรือว้าเหว่ กิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ ช่น การออกกำลังกาย การเล่นดนตรี การทำบุญกุศล การท่องเที่ยงทัศนศึกษา การจัดประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ การแวะไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุในชุมชน การทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในโอกาสพิเศษ เช่น วันสงกรานต์ หรือวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ควรจัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวแก่ผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อแสดงความรัก ความเคารพต่อผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมวันปีใหม่ วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ สำหรับผู้สูงอายุที่มีความสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม ควรยกย่องให้เป็นบุคคลตัวอย่าง 3. คนในสังคม ควรมีน้ำใจ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ เช่น ช่วยเหลือในการพาขึ้นรถ หรือลงเรือ ก่อนผู้โดยสารคนอื่น ๆ ลุกให้ที่นั่งแก่ผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ข้ามถนนโดยปลอดภัย เมื่อผู้สูงอายุไปขอรับบริการ ณ ที่ใดก็ตาม ควรพิจารณาให้บริการแก่ผู้สูงอายุก่อน 4. ควรจัดให้มีการให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีอายุยืน ให้คำแนะนำตอบปัญหาสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่ผู้สูงอายุเฉพาะต่างหาก ความรู้ที่สำคัญ ซึ่งผู้สูงอายุ คนในครอบครัวและสังคม ควรจะได้ทราบ และนำไปปฏิบัติต่อผุ้สูงอายุ ได้แก่ หลักปฏิบัติ 5 อ. สำหรับผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพกายที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ หลัก 9 ประการเพื่อชีวิตสดใสวัยสูงอายุ และเคล็ดลับ กิน-อยู่ อย่างไรให้อายุยืน เป็นต้น 5. ช่วยกันปลูกฝังแนวคิด (ตามแนวคิดของแพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน์)ให้แก่ทุกคนในสังคม อย่างจริงจังและต่อเนื่องดังต่อไปนี้คือ 1. ผู้สูงอายุ คือ ผู้เปี่ยมล้นด้วยคุณค่า มีพระคุณนับอนันต์ต่อทั้งครอบครัว ชุมชนและสังคม 2. ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี 3. อย่าให้ผู้สูงอายุ อยู่อย่างเป็น “นกน้อยในกรงทอง” 4. ผู้สูงอายุ คือ พ่อและแม่ ไม่ใช่ลูก อย่าปฏิบัติกับท่านเช่นเดียวกับลูก เข้าใจผู้สูงอายุด้วย อย่าข่มเหง ดุด่าว่ากล่าวผู้สูงอายุ 5. เราทำกับพ่อแม่ของเราอย่างไร ลูกหลานของเราก็จะทำกับเราอย่างนั้น 6. สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการจากครอบครัว เป็นเช่นดั่งบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ซึ่งมีดังนี้คือ เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้ เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา หวังลูกช่วยปิดตายามสิ้นใจ 7. ผู้สูงอายุ คือ ผู้งามเด่นเช่นอาทิตย์ ส่องชีวิตมวลชนคนทุกถิ่น เป็นความหวังพลังขวัญจรรโลงริน เป็นชีวินพัฒนาเติบกล้าไป เพราะท่านคือ พลังสังคม นี้ เป็นชีวีพัฒนาแกร่งกล้าได้ คือ คุณค่าคู่โลกา ฟ้าอำไพ ผู้ก้าวไปเพื่อสรรสร้างทางความดี เคล็ดลับกิน-อยู่ อย่างไรให้อายุยืน หลักในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ของชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข มี 12 ประการ ดังนี้ คือ 1. ส่งเสริมวิถีชีวิตอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย พึ่งตนเองเป็นหลัก และใช้จ่ายอย่างประหยัด 2. ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบสังคมในชนบท ส่งเสริมการเกษตรธรรมชาติ คนในเมืองควรเพราะปลูกพืชผัก ไว้กินเอง เพื่อประหยัดและปลอดภัยจากการได้รับสารเคมี อีกทั้งช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ด้วย 3. กินอย่างไทย ปรุงอาหารกินเองในบ้าน เลิกการกินอาหารแบบฝรั่งและอาหารจีน เพราะมีปริมาณ ไขมันและโปรตีนสูง เป็นสาเหตุของโรคอ้วน และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย 4. กินข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ไม่กินน้ำตาลฟอกขาว (ควรกินน้ำตาลที่ยังไม่ฟอก ซึ่งจะมีสีน้ำตาล) ไม่กินขนมหวาน ไม่ดื่มน้ำอัดลม 5. ลดการกินไขมันจากสัตว์ น้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว กะทิ และน้ำมันปาล์ม ควรใช้แต่น้ำมันพืช (ที่ไม่ใช่น้ำมันจากมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ) 6. ไม่ควรกินเนื้อสัตว์มากเกินความจำเป็น ผู้ใหญ่ให้กินไม่เกินวันละ 100 กรัม เด็กวัยเจริญเติบโต ให้กินไม่เกินวันละ 200 กรัม 7. กินผักสด ผลไม้สด ให้มาก เพราะเป็นแหล่งที่มาของเกลือแร่ วิตามิน และพลังแห่งชีวิต 8. ไม่กินอาหารขยะ เช่น บะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มอื่นใดที่มีแอลกอฮอล์ รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลืองที่ไม่ใส่ครีมเทียม 9. ทารกต้องกินนมแม่ รณรงค์ให้ดื่มนมถั่วเหลืองที่ไม่ใส่ครีมเทียม สำหรับผู้ที่ปรารถนาจะมีอายุยืนยาว ควรเลิกดื่มนม เพราะนมวัวและผลิตภัณฑ์นมเนย ให้โทษแก่ร่างกายมากกว่าให้ประโยชน์ ถ้าต้องการเสริมแคลเซี่ยม ให้กินกุ้งแห้ง ปลากรอบ กะปิ ปลาร้า ที่ทำอย่างถูกสุขลักษณะ เต้าหู้ งาขาว และ งาดำ เป็นต้น 10. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที อย่างน้อยวันเว้นวัน เลือกการออกกำลังกายแบบตะวันออก เช่น ไทเก็ก โยคะ ฤาษีดัดตน เป็นต้น 11. รู้จักคลายเครียด ฝึกทำสมาธิ ขัดเกลาความคิดและจิตวิญญาณ ให้รู้จักพอ รู้จักให้ มีเมตตากรุณา 12. เรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ใช้วิธีการต่างๆ ของวิถีสุขภาพแบบองค์รวม อย่างมีเหตุผล ใช้ยาเท่าที่จำเป็น ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน และพฤติกรรมเพื่อการฟื้นคืน สุขภาพโดยเร็ว หลักปฏิบัติ 5 อ. สำหรับผู้สูงอายุ อ. ที่หนึ่ง ซึ่งสำคัญ คือ อาหาร ที่ย่อยง่าย รับประทาน อย่ารสจัด เนื้อ นม ไข่ ผัก ปลา สารพัด แต่ไขสัตว์ งดดีกว่า อย่าเสียดาย อ. ที่สอง คือ อาคาร บ้านที่พัก ควรถือหลัก บันไดและพื้น อย่าลื่นง่าย เก้าอี้เตียง มีไว้นั่ง นอนสบาย ซองทั้งหลาย เข้าระเบียบ อย่ารกตา อ. ที่สาม คือ ออกกำลังกาย เป็นการยืด เส้นสาย อย่างถูกท่า วิ่งลิวโลดกระโดดเต้นตามกติกา เล่นกีฬา พักสมอง คล่องกายใจ อ. ที่สี่ อารมณ์ดี อยู่เสมอ ไม่ป้ำเป๋อ ใฝ่ธรรม นำนิสัย ถึงคราวงาน ทำการ งานว่องไว ถ้าคราวเล่น ปล่อยใจ ได้พักพิง อ. ที่ห้า ทำงานอดิเรก ดุจเป็นงาน ชิ้นเอก ควรทำยิ่ง ทำเมื่อไร ใจสงบ เมื่อนั้นจริง จึงเป็นสิ่ง คุ้มค่า น่าทำเอย ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และข้อควรปฏิบัติในการแก้ไข 1. โรคเบาหวาน ผู้ป่วย โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ในการที่จะเกิด อัมพาต ตาบอด ไตวาย โรคหัวใจ ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านป่วยเป็น อัมพาต ตาบอด ไตวาย โรคหัวใจ หมอจึงอยากจะให้ท่าน พยายามในการที่จะปฎิบัติดังต่อไปนี้ คือ 1. บริโภคอาหารให้เหมาะสม ควรเน้นการกินอาหารประเภทปลาและผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานให้มากๆ หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน ถ้าไม่มีปลา ก็กินเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆก็ได้ แต่ต้อง ไม่กินส่วนที่มีมัน ไม่กินเครื่องในสัตว์ และไม่กินหนังสัตว์ หลีกเลี่ยงการกิน อาหารหวาน อาหารมัน อาหารเค็ม อาหารทอด หลีกเลี่ยงขนมหวาน ขนมมัน ขนมทอด หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีกะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานหรือหวานมัน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดหรือหลีกเลี่ยง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ทุกชนิด กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก หลีกเลี่ยงการกินข้าวเหนียว ควรกินข้าวเจ้าครั้งละหนึ่งทัพพี ควรลดการกินอาหารที่เป็นแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ขนมจีน เผือก มัน เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นไขมัน การกินแป้งมากๆจะทำให้ได้รับน้ำตาลมาก และไขมันมาก 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เดิน หรือ ปั่นจักรยาน ต่อเนื่องโดยไม่หยุด 1 ชั่วโมง *** หรือ วิ่ง ต่อเนื่องโดยไม่หยุด ครึ่ง ชั่วโมง 3. ส่งเสริมสุขภาพจิต คิดแต่สิ่งที่คิดแล้วมีความสุข และช่วยแก้ปัญหาได้ มองโลกในแง่ดี พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น ทำดี ละเว้นชั่ว ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ( ถ้าปวดข้อเข่า ก็นั่งเก้าอี้ ) ควรมีการผ่อนคลายความเครียด มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่ทำงานหักโหมมากจน เกินไป 4. กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อย่าขาดยาหรือกินยาไม่สม่ำเสมอ เพราะจะเกิดอันตรายอย่างมาก 2. โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น ในการที่จะเกิด อัมพาต ตาบอด ไตวาย โรคหัวใจ ด้วยเหตุนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านป่วยเป็น อัมพาต ตาบอด ไตวาย โรคหัวใจ หมอจึงอยากจะให้ท่าน พยายามในการที่จะปฎิบัติดังต่อไปนี้ คือ 1. บริโภคอาหารให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการกิน อาหารเค็ม หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ ควรเน้นการกินอาหารประเภทปลาและผักและผลไม้ที่มีรสไม่หวานให้มากๆ หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวาน ถ้าไม่มีปลา ก็กินเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆก็ได้ แต่ต้อง ไม่กินส่วนที่มีมัน ไม่กินเครื่องในสัตว์ และไม่กินหนังสัตว์ หลีกเลี่ยงการกิน อาหารหวาน อาหารมัน อาหารเค็ม อาหารทอด หลีกเลี่ยงขนมหวาน ขนมมัน ขนมทอด หลีกเลี่ยงอาหารหรือขนมที่มีกะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานหรือหวานมัน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ลดหรือหลีกเลี่ยง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ทุกชนิด กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก ลดหรือหลีกเลี่ยงการกินข้าวเหนียว ควรกินข้าวเจ้าครั้งละหนึ่งทัพพี ควรลดการกินอาหารที่เป็นแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น ขนมจีน เผือก มัน เพราะแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นไขมัน การกินแป้งมากๆจะทำให้ได้รับน้ำตาลมาก และไขมันมาก 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เดิน หรือ ปั่นจักรยาน ต่อเนื่องโดยไม่หยุด 1 ชั่วโมง *** หรือ วิ่ง ต่อเนื่องโดยไม่หยุด ครึ่ง ชั่วโมง 3. ส่งเสริมสุขภาพจิต คิดแต่สิ่งที่คิดแล้วมีความสุข และช่วยแก้ปัญหาได้ มองโลกในแง่ดี พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น ทำดี ละเว้นชั่ว ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ ( ถ้าปวดข้อเข่า ก็นั่งเก้าอี้ ) ควรมีการผ่อนคลายความเครียด มีการพักผ่อนที่เพียงพอ และไม่ทำงานหักโหมมากจน เกินไป 4. กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อย่าขาดยาหรือกินยาไม่สม่ำเสมอ เพราะจะเกิดอันตรายอย่างมาก 3. อุบัติเหตุ ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยมาก การที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทำได้ง่ายมาก โดยทำดังนี้ คือ 1. ใช้มือจับราวทุกที่ ซึ่งมีราวให้จับ 2. สวมรองเท้าที่รองรับได้มั่นคง ห้ามใช้รองเท้าส้นสูง เพราะทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้บ่อยมาก 3. หลีกเลี่ยงการเดิน ในที่ซึ่ง มีแสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นลื่น หรือพื้นเปียก ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว และบันได ควรใช้พื้นชนิดไม่ลื่น 4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และการหยิบของในที่สูง โดยเฉพาะควรหลีกเลี่ยงการยืนบนโต๊ะ หรือยืนบนเก้าอี้ เพื่อหยิบของในที่สูง (ควรเรียกลูกหลาน มาช่วยทำแทนจะดีกว่า) 5. หลีกเลี่ยงการก้มตัวลงหยิบของ ( ควรย่อเข่าลงไป โดยที่หลังตั้งตรงก่อน แล้วจึงหยิบของ ) 6. จัดบ้านให้สบาย และปลอดภัย โดยการติดตั้งไฟให้สว่างเพียงพอ ติดราวจับในที่จำเป็น โดยเฉพาะในห้องน้ำ จัดทางเดินให้โล่งไม่มีสิ่งเกะกะ เช่น พรมลื่นๆ สายไฟ สายโทรศัพท์ กีดขวางทางเดิน ควรหมั่นตรวจสภาพทางเดิน และบันไดเป็นประจำ เพื่อให้ทางเดินและบันไดอยู่ในสภาพที่ดี อยู่เสมอ จัดวางของให้อยู่ในที่ใช้ได้สะดวก และหยิบใช้ได้ง่าย 7. ควรมีไฟฉายเก็บไว้ในที่ซึ่งหยิบใช้ได้ง่าย รวมทั้งควรมีไว้ใกล้เตียงนอน เพื่อหยิบใช้ในตอนกลางคืน หรือเมื่อไฟฟ้าดับ 8. สิ่งสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ จะทำอะไร จะเดิน จะวิ่ง จะลุก จะนั่ง จะยืน อย่ารีบร้อนหรือรีบเร่ง ขอให้ใจเย็น ๆ ค่อยๆ ทำ รับรองว่า อุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่ นอน 4. ปวดหลัง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดหลังบ่อยๆ ควรทำดังนี้คือ 1. รักษาน้ำหนักของร่างกายอย่าให้อ้วน โดยหลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารมัน อาหารทอดและเครื่องในสัตว์ ( บริโภคอาหารและเครื่องดื่มเหมือนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ) 2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อของหลังแข็งแรง 3. ขณะนั่ง ยืน หรือ เดิน ต้องให้หลังตรง อกผายไหล่ผึ่งอยู่เสมอ 4. เลือกเก้าอี้นั่งที่พยุงหลังได้แข็งแรง นั่งแล้วไม่จม หลังไม่โค้งงอ 5. นอนบนที่นอนที่ค่อนข้างแน่น ไม่อ่อนยวบยาบ เพราะจะทำให้หลังโกง แต่ที่นอนก็ไม่ควรแข็งจนเกินไป 6. หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยไม่จำเป็น ควรเรียกลูกหลานมาช่วยยกให้ 7. การรักษาอาการปวดหลัง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตึง การรักษาทำได้ง่ายมากโดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนพันด้วยผ้าขนหนู หรืออาจจะใช้ใบพลับพลึงย่างไฟให้อุ่น ประคบบริเวณที่เจ็บปวด ส่วนใหญ่มักจะหายแล้ว ถ้าประคบแล้วยังมีอาการปวดมาก ก็อาจจะกินยาแก้ปวด ที่ชื่อว่า พาราเซท หรือพาราเซทตามอล ร่วมด้วย สำหรับยาพาราเซทนั้น ถ้าน้ำหนักตัวน้อยกว่า 50 กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ 1 เม็ด น้ำหนัก 50-60 กิโลกรัม กินครั้งละ หนึ่งเม็ดครึ่ง (1 1/2) แต่ถ้าน้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม ก็ให้กินครั้งละ 2 เม็ด กินแต่ละครั้งต้องห่างกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ถ้าประคบก็แล้ว กินยาพาราเซทก็แล้ว ยังไม่หายปวด ควรรีบไปสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านโดยเร็ว อย่ารอช้า เพื่อจะได้รับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เป็นอันตราย และจะได้หายเร็วๆ 8. 5. นอนไม่หลับ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับบ่อยๆ ควรทำดังนี้ คือ 1. ควรฝึกเข้านอนให้ตรงเวลา 2. ควรหลีกเลี่ยงการนอนในตอนเช้าหรือตอนบ่าย 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันเว้นวัน ถ้าจะให้ดีควรออกกำลังกายในตอนเย็น จะได้อ่อนเพลียเวลานอน จึงทำให้ง่วงนอนยามค่ำคืน 4. อ่านหนังสือหรือตำราที่ชอบก่อนนอน 5. จัดห้องนอนให้อบอุ่น ไม่ซึมเซาน่าเบื่อ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่นอน ไม่ควรแข็งหรือนุ่มจนเกินไป 6. อ่านหนังสือธรรมะ ไหว้พระสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ เพื่อให้ธรรมะช่วยระงับจิตใจ 7. หลีกเลี่ยงการกินยา และสิ่งออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เช่น ชา กาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังทุกชนิด 8. อาหารมื้อเย็นไม่ควรกินอิ่มมากจนเกินไป อาหารที่กินไม่ควรรสจัดหรือมันมากจนเกินไป ไม่ควรกินอาหารเผ็ดอาหารดอง ถ้าให้ดีควรกินอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น 9. หลังจากกินอาหารมื้อค่ำแล้ว ควรดื่มน้ำแต่พอควร ไม่ควรดื่มน้ำ มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้องลุกขึ้นปัสสาวะกลางดึก ซึ่งจะรบกวนการนอนหลับ 10. ควรถ่ายปัสสาวะก่อนนอนทุกวัน 11. ไม่ควรกินยานอนหลับเอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์ไม่ได้สั่งให้กิน เพราะอาจทำให้ติดยานอนหลับได้ คือ หากวันไหนไม่ได้กินยานอนหลับ วันนั้นก็นอนไม่หลับ จึงทำให้ต้องกินยานอนหลับแทบทุกวัน ซึ่งไม่ดีเท่าไรนัก เพราะ ยานอนหลับนั้นมีโทษต่อตับ ดังนั้นจึงควรกินยานอนหลับ เฉพาะเมื่อแพทย์สั่งให้เท่านั้น จึงจะปลอดภัย และจะได้ไม่ติดยานอนหลับ 6. ท้องผูก การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาท้องผูกทำได้ง่ายมาก โดย ให้ทำดังนี้ คือ 1. หัดนิสัยการขับถ่ายอุจจาระในเวลาเดิมทุกวัน หรือถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลานั่นเอง การขับถ่ายอุจจาระวันละ 1 หรือ 2 ครั้ง หรือ 2 วัน ต่อครั้ง ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญอยู่ที่ มีการขับถ่ายสม่ำเสมอหรือไม่ 2. ให้เข้าส้วมทันทีที่รู้สึกอยากถ่าย อย่ากลั้นอุจจาระ ถ้ามีนิสัยขี้เกียจไป ห้องส้วมก็จะทำให้ท้องผูกได้บ่อย 3. ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะเมื่อมีอากาศร้อน หรือภายหลังออกกำลังกาย เพราะเสียเหงื่อมาก (ยกเว้นในผู้ป่วย โรคไต โรคหัวใจ โรคท้องมาน ผู้ป่วยขาดโปรตีน หรือผู้ป่วยอื่นที่แพทย์สั่งห้ามไม่ให้ดื่มน้ำมาก เพราะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม จะดื่มน้ำปริมาณมากๆ ไม่ได้) 4. ควรกินผักและผลไม้ให้มาก ๆ โดยเฉพาะผักหรือผลไม้ที่มีกาก หรือเส้นใยมากๆ 5. ควรหลีกเลี่ยง การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ อาหารเผ็ด อาหารดอง ยาแก้ปวดข้อ ยาประดง ยากระจายเส้น ยาชุด ยาปวดหาย ยาไพรานา ยาบูราหรือยาสเตียรอยด์ 6. ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา 7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้ และทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งช่วยในการเบ่ง อุจจาระแข็งแรง จึงเบ่งออกง่าย ท้องไม่ผูก 8. ถ้าปฏิบัติตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 7 แล้วยังมีปัญหาท้องผูก ขอแนะนำให้กินแกงขี้เหล็ก น้ำมะขามเปียก ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้าสุก ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น 9. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย เพราะการใช้ยาระบายบ่อยๆ จะทำให้กลไกการเคลื่อนไหวของลำไส้แบบอัตโนมัติเสียไป ทำให้ท้องผูกตามมา และถ้าท้องผูกเกิดจากการกินยาระบายบ่อย ๆ แล้ว จะรักษายากมาก มักลงเอยด้วยการ ต้องกินยาระบายทุกวัน ซึ่งไม่ดี เพราะยาทุกอย่างมีโทษต่อร่างกาย 7. ปวดข้อเข่า ปวดข้อเข่า ส่วนใหญ่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม การบริโภคอาหารที่เหมาะสมจะป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมมากยิ่งขึ้น การบริโภคที่เหมาะสมให้บริโภคเหมือนกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เคยกล่าวมาก่อนหน้านี้นั่นเอง ส่วนที่เพิ่มเติม และสำคัญมาก ก็คือ 1. ห้ามนั่ง กับพื้น เพราะข้อเข่าจะขาดเลือด ทำให้เสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ควรนั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งบนแคร่ 2. ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นบันได หรือขึ้นที่สูงชัน 3. ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ถ้ามีอาการปวดข้อเข่ามาก ให้ใช้ใบพับพลึงหลาย ๆ ใบ ย่างไฟ แล้วทิ้งให้อุ่น หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนู ประคบรอบบริเวณข้อเข่า ร่วมกับการใช้ยาทาแก้เคล็ดขัดยอก ในรายที่ปวดมากอาจใช้ผ้ายางยืด พันตั้งแต่บริเวณเหนือข้อเข่าลงไปถึงบริเวณใต้ข้อเข้าหลังทายาแก้เคล็ดขัดยอก ก็จะช่วยลดอาการปวด ได้ดีมากถ้ายังมีอาการปวด ก็ให้กินยาพาราเซท ( การกินยาพาราเซทดูในข้อ 7 ของ การรักษาอาการปวดหลัง ) ถ้ายังไม่หายปวดควรรีบไปสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว 8. โรคสมองเสื่อม และโรคอัมพฤกษ์อัมพาต สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัมพฤกษ์อัมพาต คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การป้องกันไม่เกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ก็โดยการรักษาและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องสำหรับโรคที่เป็นสาเหตุ มีการพักผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่ ที่สำคัญก็คือ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมจะป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองเสื่อม และ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต การบริโภคที่เหมาะสมให้บริโภคเหมือนกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เคยกล่าวมาก่อนหน้านี้นั่นเอง หลักในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 1. ผู้ดูแลต้องคิดไว้เสมอว่า “ พ่อแม่คือพระอรหันต์สำหรับลูก” พระคุณของพ่อแม่มากมายนับอนันต์ ยากยิ่งที่เราจะตอบแทนได้หมดในชาตินี้ หน้าที่ที่สำคัญที่สุดและมีคุณค่ามากที่สุดของมนุษย์ก็คือ การแสดง ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ “ ถ้าจะทำอะไรตอบแทนพระคุณบิดา มารดา ขอให้รีบทำในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ “ ตามคำสอนของหลวงพ่อ พระปัญญานันทภิกขุ 2. ผู้ดูแลต้อง เข้าใจผู้ป่วย 3. ผู้ดูแลต้อง ให้กำลังผู้ป่วย ( อย่าหัวเราะเยาะ อย่าดุด่าว่ากล่าวผู้ป่วยให้ท้อแท้ หมดกำลัง
 


Scroll to Top